เมนู

7. อัญญมัญญปัจจัย


ในอัญญมัญญปัจจัย

มี 3 วาระ เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัยใน
ปฏิจจวาระ.

8. นิสสยปัจจัย


ในนิสสยปัจจัย

เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปัจจัยวาระ แม้ทั้ง 4
ปัจจัย ปัจจัยสงเคราะห์ที่ต่างกันไม่มี มี 13 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[113] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรมแล้ว ให้ทาน รักษาศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อ
มานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอาจยาคามิธรรม ฯลฯ สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทานรักษาศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ
ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ด้วยอำนาจของอุป-
นิสสยปัจจัย ฯสฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนว-
สัญญานาสัญญานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัย
แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1114] 2. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมแห่ง
จตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมแห่ง
[1115] 3. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจย-
คามธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นอาจยคามีธรรม แล้วกระทำคนให้
เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอาจยคามิธรรม ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนา แล้วกระทำคนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวง
หาเป็นมูล.
ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1116] 4. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่
จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1117] 5. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ฯลฯ
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

พระเสกขบุคคลทั้งหลาย เข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังกุศลสมาบัติที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว.
บุคคลพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา.
มรรคของพระเสกบุคคล เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา แก่ธัมมปฏิ-
สัมภิทา แก่นิรุตติปฏิสัมภิทา แก่ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความฉลาดในฐานะและ
อฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1118] 6. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจย-
คามิธรรม ฯลฯ

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
พระอรหันต์เข้าไปอาศัยมรรคแล้วยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิด
ขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ฐานาฐานโกสัลละ ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1119] 7. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวา-
จยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกาย แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน
ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล.
บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน.
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
พระอรหันต์เข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้ว ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น ฯลฯ ย่อมเห็นแจ้ง ฯลฯ เข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ย่อมเห็นแจ้ง ฯลฯ.
[1120] 8. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจย-
คามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่างที่เป็นคือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่า
สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม
แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
[1121] 9. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจย-
คามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้วยังมรรคให้เกิดขึ้น.
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่มรรค
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[1122] 1. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวา-
จยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.